วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 5
การเขียนบทสัมภาษณ์



การเขียนบทสัมภาษณ์เพื่อนาเสนอในสื่อต่าง ๆ นั้น มีรูปแบบและเทคนิคในการเขียนแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแนวนโยบายของสื่อแต่ละสานักพิมพ์และความถนัดของผู้เขียนแต่ละคน

งานเขียนแต่ละประเภทมีรูปแบบการเขียนพื้นฐานทั่ว ๆ ไป คือ ชื่อเรื่อง ส่วนนา ส่วนเนื้อหา และ ส่วนสรุป ซึ่งการเขียนบทสัมภาษณ์สามารถยึดหลักการเขียนดังกล่าวเป็นพื้นฐานก็ได้ บทสัมภาษณ์บางเรื่องที่ไม่ได้ยึดหลักพื้นฐานดังกล่าว อาจเป็นเพราะพื้นที่ในการตีพิมพ์มีจากัด จึงต้องมุ่งนาเสนอเนื้อหาจากการสัมภาษณ์ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะบทสัมภาษณ์ในคอลัมน์ประจาตามหนังสือพิมพ์



รูปแบบการเขียนบทสัมภาษณ์

1. การเขียนบทสัมภาษณ์ถาม-ตอบ

เป็นบทสัมภาษณ์พื้นฐานที่นิยมเขียนกันมากเพราะเป็นการนาเสนอที่เรียบง่ายไม่ต้องใช้เทคนิคการเขียนโดยเฉพาะด้านสานวนภาษามากมาย



 นาคาถามและคาตอบมาเรียบเรียงให้ได้ใจความสาคัญและนาเสนอโดยเรียงลาดับเนื้อหาให้ชัดเจน

 คาถามและคาตอบที่นาเสนอนั้นอาจมีการใช้ศัพท์สแลงคาที่อยู่ในกระแสและคาพูดหรือข้อความอื่นๆมาประกอบเพื่อสื่อให้เห็นภาพในขณะอ่านด้วย

 ข้อพึงระวังคือหากผู้สัมภาษณ์ไม่รู้จักการตั้งคาถามที่ดีจะทาให้บทสัมภาษณ์ไม่น่าอ่านและหากเจอผู้ให้สัมภาษณ์ที่พูดไม่เก่งไม่ชอบขยายความหรืออธิบายรายละเอียดเช่นตอบสั้นๆห้วนๆก็จะยิ่งทาให้บทสัมภาษณ์น่าเบื่อมากขึ้นไปอีก

 การถามโดยการรวมคาถามย่อยๆที่เป็นเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกันหรือแยกแต่ละประเด็นให้ชัดเจนดังตัวอย่างจะช่วยทาให้ได้รายละเอียดของคาตอบมากขึ้นและผู้ให้สัมภาษณ์จะมีโอกาสได้ตอบหรือเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับคาถามนั้นๆให้ฟังมากขึ้น

2. การเขียนบทสัมภาษณ์แบบร้อยเรียง

เป็นการเขียนบทสัมภาษณ์ที่ผู้สัมภาษณ์ได้ถอดความจากการสัมภาษณ์แล้วนามาเรียบเรียงเป็นเรื่องราว



 เป็นการเขียนที่ไม่จาเป็นต้องมีคาถามของผู้สัมภาษณ์ปรากฏอยู่ในบทสัมภาษณ์เสมอไปเป็นบทสัมภาษณ์ที่อาจมีการยกคาพูด(direct quote) สาคัญๆของผู้ให้สัมภาษณ์มาสอดแทรกในเนื้อหาบ้างเพื่อเป็นการเน้นย้าหรือผู้เขียนอาจสร้างหัวข้อย่อยๆขึ้นมาเองเพื่อสร้างความน่าสนใจและเป็นการกาหนดประเด็นในการเขียน

 ผู้เขียนต้องมีทักษะในด้านการจับใจความการเรียบเรียงการใช้สานวนภาษาและมีเทคนิคการเขียนหรือวิธีนาเสนอที่น่าสนใจ

3. การเขียนบทสัมภาษณ์แบบผสมผสาน.

 การเขียนบทสัมภาษณ์ที่นารูปแบบการเขียนแบบถาม-ตอบและการเขียนแบบร้อยเรียงมาผสมกันการเขียนรูปแบบนี้เป็นการสร้างสีสันให้บทสัมภาษณ์ไม่น่าเบื่อได้อีกรูปแบบหนึ่ง

 

 มักใช้กับการสัมภาษณ์ที่มีหลายช่วงเหตุการณ์ซึ่งเนื้อหาเรื่องไม่ปะติดปะต่อกันแต่คนสัมภาษณ์ต้องการเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้าไว้ในบทสัมภาษณ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น