บทที่ 6
การเขียนบทวิจารณ์
บทวิเคราะห์ ž บทวิเคราะห์ คือ บทความประเภทหนึ่งซึ่งผู้เขียนจะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เผยแพร่มาแล้วอย่างละเอียด โดยแยกแยะให้เห็นส่วนต่างๆของเรื่องนั้น อีกทั้งวิเคราะห์เหตุการณ์ เรื่องราวเหล่านั้นอย่างละเอียด แสดงข้อเท็จจริง เหตุผล เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้ ความคิดเห็นเพิ่มเติม เกิดความคิดที่ชัดเจนขึ้น
ž ผู้เขียนต้องเสนอข้อมูลแบบเจาะลึก นาเอาหลักและทฤษฎีมาวิเคราะห์ข้อมูลนั้น เพื่อหาถึงสาเหตุของปัญหา พร้อมคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดขึ้น และชี้แนะแนวทางแก้ไขให้ผู้อ่าน เช่น เรื่องการเมืองและธุรกิจ
การเขียนบทวิจารณ์
ความหมายของการวิจารณ์
วิจารณ์ หมายถึง การให้คาตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ว่ามีค่าความวามความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง ติชมมักใช้คาเต็มว่าวิพากษ์วิจารณ์
ความหมายของบทวิจารณ์
บทวิจารณ์ (Review) เป็นงานเขียนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานด้านศิลปกรรม งานวรรณกรรม เหตุการณ์บ้านเมือง เรื่องราวของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เป็นต้น โดยเขียนในเชิงติชม ชี้ให้เห็นทั้งด้านบวกและด้านลบโดยยึดหลักความเที่ยงธรรมในการวิจารณ์
บทวิจารณ์ช่วยให้ผู้อ่านทราบถึงข้อดีและข้อด้อยของสิ่งนั้นตามความคิดเห็นของผู้วิจารณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ทางานให้เกิดปัญญาแก้ไขในสิ่งที่บกพร่อง และประโยชน์ต่อผู้อ่าน ในการตัดสินใจ เลือกชม เลือกซื้อ เลือกอ่านสิ่งนั้น
ลักษณะของบทวิจารณ์
1. เป็นข้อเขียนที่ชัดเจนในการบอกให้ผู้อ่านทราบถึงรายละเอียดของสิ่งนั้น เช่น เป็นสถานที่ใด เป็นหนังสือประเภทใด
2. เป็นข้อเขียนที่เสนอความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล เพื่อชี้แนะให้ผู้อ่านได้รู้จักและเข้าใจผลงานนั้นทั้งด้านบวกแล้วก็ด้านลบ โดยมีเหตุผลประกอบการแสดงความคิดเห็นอย่างชัดเจน
3. เป็นข้อเขียนที่ตรงไปตรงมา ไม่มีอคติต่อสิ่งที่วิจารณ์ รวมทั้ง เขียนขึ้นจากความเป็นกลางและมีคุณธรรมของผู้เขียน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่าน ไม่ใช่เป็นการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ให้กับเจ้าของผลงานนั้น เช่น หนังสือเรื่องที่เราจะวิจารณ์นั้นมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร ให้เนื้อหาสาระแก่ผู้อ่านมากน้อยเพียงใด
4. เป็นข้อเขียนที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย น่าอ่าน
ประเภทของการวิจารณ์
1. การวิจารณ์ทางวิชาการ เป็นการวิจารณ์ผลงานในสาขาวิขาการต่างๆ เช่น วรรณคดี สถาปัตยกรรม การเมือง โดยนาเอาหลักการวิจารณ์ในศาสตร์นั้นๆเข้ามาเป็นเกณฑ์ในการวิจารณ์
2. การวิจารณ์ทั่วไป เช่น การวิจารณ์ละคร ดนตรี ภาพยนตร์ วิจารณ์รายการต่างๆในสื่อมวลชน งานศิลป์ และเหตุการณ์ทั่วไป
3. การวิจารณ์วรรณกรรม หากวิจารณ์ในระดับง่าย เพื่อแนะนาให้คนทั่วไปได้รู้จักวรรณกรรมนั้นๆว่าดี เหมาะสมหรือไม่ และการวิจารณ์ในระดับลึกตามแนวการวิจารณ์ต่างๆเพื่อพิเคราะห์วรรณกรรม
หลักเกณฑ์การวิจารณ์
1. ตามมาตรฐานที่ยึดถือมาแต่เดิม เป็นการพิจารณาผลงานตามแนวทางหรือมาตรฐานที่กาหนดมาก่อนและถือเป็นหลักเกณฑ์ในการวัดผลงานประเภทเดียวกันต่อๆมา
2. ตามวิธีการรายงาน เป็นการรายงานแบบอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่จะวิจารณ์ ให้ผู้อ่านได้ทราบภาพรวมของผลงานแล้วจึงให้ความเห็นทั้งด้านดีหรือด้านที่มีข้อบกพร่องในสายตาของผู้วิจารณ์
3. ตามลักษณะของงาน เป็นการพิจารณารวมๆเฉพาะตัวผลงานชิ้นนั้นๆ โดยไม่ยึดหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดมาวัด แต่ดูที่เนื้อหาสาระและเหตุผลของการแสดงออกของงานชิ้นนั้น
4. ตามความประทับใจ เป็นการวิจารณ์ตามความประทับใจของผู้วิจารณ์ แล้วนามาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินผลงาน จึงขึ้นอยู่กับระดับของผู้วิจารณ์ว่าจะมีวิจารณญาณอย่างไร
ขั้นตอนของการวิจารณ์
แบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. การสรุปแนวคิดและสาระของเรื่อง
แนวคิดของเรื่อง คือ แก่นหรือจุดสาคัญของเรื่องซึ่งเป็นหลักของเรื่องนั้น อาจจะใช้ชื่อเรื่องของงานวิจารณ์เป็นแนวสังเกตของเรื่องได้
ส่วนสาระของเรื่องนั้น คือ เนื้อหาอย่างคร่าว ผู้วิจารณ์สามารถนาข้อความ คาพูดของตัวละครในเรื่องที่วิจารณ์ มาเขียนประกอบไว้ได้ เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น
2. การวิเคราะห์กลวิธีการแต่ง เป็นการใช้เทคนิค ศิลปะของผู้เขียนที่สามารถถ่ายทอดความรู้ สื่อความเข้าใจและอารมณ์มาสู่ผู้อ่าน เช่น การใช้คา ใช้โวหารภาพพจน์ เป็นต้น
3. การประเมินคุณค่า เป็นขั้นสุดท้ายของการวิจารณ์ ผู้วิจารณ์สามารถ แสดงความคิดของตนอย่างมีเหตุผลได้อย่างเต็มที่ เพื่อประเมินคุณค่าของงานนั้น ซึ่งแบ่งได้เป็น
3.1 ด้านความคิดริเริ่ม
3.2 ทางด้านวรรณศิลป์ คือ การประเมินคุณค่าด้านการใช้ภาษาและการสร้างเรื่อง
3.3 คุณค่างานที่มีต่อสังคม ได้แก่
ด้านความเพลิดเพลินเป็นสิ่งที่ทาให้ผู้อ่านสนใจ
คุณค่าทางด้านความคิดเกิดจากอิทธิพลความคิดเห็นของผู้แต่งที่ปรากฏอยู่ในงานเขียนซึ่งมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อ่าน
แนวการวิจารณ์วรรณกรรม
1. บทแนะนาหนังสือ(Book Review) เป็นบทความขนาดสั้นเขียนขึ้นเพื่อแนะนาหนังสือที่พึ่งออกเผยแพร่ใหม่ให้เป็นที่รู้จักประกอบด้วยเนื้อหา2 ส่วนคือ
1.1 ส่วนที่เป็นการแนะนาประกอบด้วยการบอกชื่อหนังสือชื่อผู้แต่งนามปากกาสานักพิมพ์ครั้งปีที่พิมพ์ราคาขนาดประเภทของหนังสือแนวคิดสาคัญของเรื่อง
1.2 การประเมินคุณค่าแสดงทัศนะเกี่ยวกับความพิเศษของหนังสือนั้นเช่นคุณค่าทางภาษาด้านเนื้อหาความรู้ความคิดวรรณศิลป์เป็นต้นเพื่อให้ผู้อ่านตัดสินใจว่าควรซื้อหรือไม่
2. บทวิจารณ์หนังสือหรือบทวิจารณ์วรรณกรรมวรรณกรรมที่นามาวิจารณ์มักเป็นประเภทเรื่องสั้นนวนิยายบทกวีเป็นการวิจารณ์เชิงวิชาการต้องอาศัยความรู้และทฤษฎีเข้าช่วยเช่นโครงเรื่องแนวคิดตัวละครฉากบทสนทนาความขัดแย้งเป็นต้น
แนวการวิจารณ์งานสร้างภาพยนตร์และโทรทัศน์มีการวิเคราะห์รายละเอียดดังต่อไปนี้
1. แก่นเรื่องถือเป็นแนวรวบยอดของเรื่องนั้นว่ามุ่งเสนออะไรไว้เป็นแก่นสาร
2. โครงเรื่องเป็นการผูกเรื่องไว้อย่างคร่าวๆเพื่อเป็นแนวทางในการดาเนินเรื่องว่ามีความเคลื่อนไหวเกี่ยวเนื่องกันอย่างๆรมีความสลับซับซ้อนและความเป็นเอกภาพหรือไม่
3. เนื้อเรื่องเป็นเนื้อหาของเรื่องราวที่ผู้สร้างต้องดาเนินให้สัมพันธ์กับแก่งเรื่องและโครงเรื่อง
4. ฉากสภาพแวดล้อมของสถานที่และเวลาช่วยเสริมบรรยากาศเรื่องราวหรือไม่เพียงใด
5. ตัวละครผู้แสดงมีบุคลิกเป็นตามบทบาทอยู่หรือไม่สมจริงเพียงใดและสมเหตุสมผลหรือไม่
6. เสียงเสียงต่างๆได้แก่เสียงสนทนาเสียงบรรยายเสียงดนตรีและเสียงประกอบสมจริงและให้บรรยากาศตามเรื่องราวหรือไม่อย่างไร
7. ท่วงทีที่แสดงออกมีแบบแผนการสร้างที่เฉพาะตัวอย่างไรที่ถือเป็นเอกลักษณ์เด่นในการนาเสนอเรื่องราวนั้น
8. ทัศนะของผู้สร้างผู้สร้างยึดปรัชญาการดาเนินชีวิตอย่างไรจึงเสนอเรื่องราวเหล่านั้นและเขาคิดว่าเขาได้ให้อะไรแก่สังคมหรือไม่อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น